Categories
ไทย

การเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนรู้เป็นศูนย์กลาง มีความหมายอย่างไรสำหรับครูและนักเรียน

คำว่า การเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนรู้เป็นศูนย์กลาง (Student-centered learning) เป็นคำที่ใช้บ่อยในเอกสารเกี่ยวกับการเรียนการสอน มีคำอื่นๆ ที่นำมาใช้ประกอบคำนี้ เช่น การเรียนรู้แบบยื่ดหยุ่น การเรียนรู้แบบประสบการณ์ และการเรียนรู้ที่ผู้เรียนกำหนดขึ้นเอง ดังนั้นคำว่า student-centered learning อาจมีความหมายต่างๆ นานาสำหรับแต่ละคน นอกจากนั้น ในเชิงปฏิบัติ การเรียนวิธีนี้ก็ถูกอธิบายโดยศัพท์หลายคำ ซึ่งทำให้เกิดความสับสนในการนำไปใช้
ความคิดเกี่ยวกับ student-centered learning มีมานานแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1905 ซึ่ง Carl Rogers บิดาแห่ง client-centered counseling ก็นับว่าเป็นผู้ที่นำวิธีนี้เข้าสู่วงการศึกษาโดยทั่วไป คำว่า student-centered learning ก็เกี่ยวข้องกับงานของ Piaget และ Malcolm Knowles ด้วย ในหนังสือ Freedom to Learn for the ’80s. Roger ได้พูดถึงการโอนอำนาจในห้องเรียนจากครูผู้รู้ไปสู่นักเรียนผู้เรียน ซึ่งเกิดจากความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมดั้งเดิมที่ทำให้นักเรียนเฉื่อย ไม่สนใจ และเบื่อหน่าย คอนเซพท์ของ child-centered education ในโรงเรียนได้เกิดจากงานของ Froebel เสียส่วนมาก และความคิดที่ว่าครู ‘ไม่ควรไปแซกแซงกระบวนการเติบโตของเด็ก เป็นเพียงแต่ผู้ชี้นำเท่านั้น’ Simonได้เน้นว่าความคิดนี้เกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาของเด็กที่จะเรียนรู้เมื่อพร้อมที่จะเรียนเท่านั้น
การเปลี่ยนจากการเน้นการสอนไปสู่การเน้นการเรียนได้อำนวยให้อำนาจย้ายจากครูไปอยู่ที่นักเรียน การสอนแบบครูเป็นศูนย์/การถ่ายทอดข้อมูล เช่นการปาฐกถา ได้เริ่มถูกวิจารณ์ซึ่งเป็นการปูทางให้เกิดการเรียนรู้แบบ student-centered learning เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าได้มีการใช้คำว่า student-centered learning บ่อยๆ แต่ความจริงคือ สถานการศึกษาและครูหลายคนอ้างว่าใช้ student-centered learning แต่ที่จริงแล้วไม่ได้ใช้อย่างถูกต้อง
บทนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะ
ให้ภาพรวมว่า student-centered learning ถูกนิยามอย่างไร
ให้คำแนะนำว่า student-centered learning นำไปใช้ให้เป็นหลักการสอนและการประเมินได้อย่างไร
สำรวจประสิทธิภาพของ student-centered learning และ
เสนอข้อดีข้อเสียของมัน
Student-centered learning คืออะไร?
Kember ได้อธิบายถึงการสอนอย่างกว้างๆ 2 วิธี: คือการสอนแบบ ครู/เนื้อหาเป็นศูนย์กลาง และ ผู้เรียนรู้/การเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง เขาได้สนับสนุนความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้เรียนรู้เป็นศูนย์กลางว่า: ความรู้ถูกสร้างโดยนักเรียนและครูเป็นเพียงผู้อำนวยการการเรียนรู้ ไม่ใช้เป็นผู้เสนอข้อมูล Roger ได้กำหนดว่าก่อนจะมีการเรียนรู้แบบ student-centered ได้ ต้องมีผู้นำหรือผู้ใดที่ครูทั้งหลายยอมรับเป็นผู้มีอำนาจในเหตุการณ์นี้ มีความมั่นใจในตัวเองพอสมควร และในความสัมพันธ์ที่เขามีกับผู้อื่น จนเขาไว้ใจความสามารถของผู้อื่นที่จะคิดเองและเรียนรู้เองได้
Burnard ได้เน้นการเลือกเรียน ซึ่งเขาตีความหมายของ Roger เกี่ยวกับ student-centeredness ว่า ‘นักเรียนไม่ใช่แต่เลือกว่าจะเรียนอะไร แต่สามารถเลือกวิธีเรียนและเหตุผลที่เรียนหัวข้อนั้นๆ’ เขาเน้นความเชื่อของ Roger ว่า ความเข้าใจโลกเป็นเรื่องสำคัญ ตรงประเด็นและเหมาะสม คำนิยามนี้จึงเน้นความคิดที่ให้นักเรียนมี ‘ทางเลือก’ ในการเรียนรู้
Harden และ Crosby อธิบายวิธีเรียนรู้แบบ teacher-centered เป็นการเน้นครูถ่ายทอดข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญไปสู่ลูกศิษย์ ตรงกันข้ามเขาอธิบายการเรียนรู้แบบ student-centeredเป็นการเน้นการเรียนรู้ของนักเรียนและนักเรียนจะทำอย่างไรจึงจะบรรลุสิ่งนี้ให้ได้ แทนที่จะเน้นว่าครูทำอะไร ดังนั้นคำนิยามนี้จึงเน้นการกระทำของนักเรียน
ผู้เขียนอื่นมีคำนิยามที่กว้างกว่านี้ Lea ได้สรุปบทความต่างๆ เกี่ยวกับ student-centered learning ว่าควรมีสิ่งเหล่านี้
การเรียนรู้แบบ active ไม่ใช่ passive
การเน้นการเรียนรู้แบบลึกและการเข้าใจ
นักเรียนมีความรับผิดชอบสูง
นักเรียยมีความรู้สึกเป็นอิสระสูงขึ้น
นักเรียนและครูมีความพึงพาอาศัยกัน
มีความรู้สึกเคารพซึ่งกันและกันระหว่างครูและนักเรียน
ทั้งครูและนักเรียนมีการเรียนการสอนอย่างไตร่ตรอง
Gibbs อธิบายหลักสูตร student-centered ว่าเป็นหลักสูตรที่เน้น activity มากกว่า passivity ของนักเรียน ประสบการณ์ของนักเรียนที่ได้รับก่อนเข้าสถาบันและก่อนที่เขาเรียนหลักสูตร กระบวนการและประสิทธิภาพมากกว่าเนื้อหา นักเรียนทำการตัดสินที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยมีการเจรจากับครูเสียก่อน นอกจากนี้ Gibbs ลงไปรายละเอียดที่สำคัญดังนี้ จะเรียนอะไร เรียนวิธีใดและเมื่อไหร่ มีผลสำฤทธิ์อย่างไร ใช้กฎเกณฑ์และมาตรฐานอะไร และจะมีการตัดสิน/ประเมินอย่างไรและใครจะเป็นผู้ตัดสิน Brandes และGinnis ในหนังสือ A Guide to Student-Centered Learning หลักสำคัญของ student-centered learning ว่ามีดังนี้
นักเรียนรับผิดชอบเต็มสำหรับการเรียนรู้ของตนเอง
การเกี่ยวข้องและร่วมมือจำเป็นสำหรับการเรียนรู้
ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนเสมอภาคมากขึ้น ซึ่งส่งเสริมความเจริญเติบโตและการพัฒนา
ครูจะกลายเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้และเป็นทรัพยากรบุคคลทางการเรียนรู้
นักเรียนจะรู้สึกว่าการเรียนรู้จะไหลไปด้วยกัน (affective and cognitive domains flow together)
นักเรียนจะมองตัวเองแตกต่างออกจากเดิมเพราะการเรียนรู้แบบ student-centered
ประสิทธิภาพของการเรียนรู้แบบ student-centered ไม่ค่อยมีใครกล่าวถึงในบทความต่างๆ แต่ในทัศนะคติของพวก constructivist มันดูเหมือนเกี่ยวกับความสำคัญที่ให้ต่อการกระทำ การค้นพบ และการเรียนรู้อย่างอิสระ ทฤษฎีการเรียนรู้ (cognitive theory) ก็เน้นการกระทำแต่ในอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่เหมือนพวก constructivist พวก cognitive สนับสนุนความคิดที่ว่าการกระทำในการเรียนรู้เกิดขึ้นในสมอง หรือใน ‘ความคิด’ และทัศนะคติของพวก constructivist ถือว่าการกระทำเกี่ยวข้องกับการกระทำทางกายภาพ เช่น การทำโครงการ หรือแบบฝึกหัดเชิงปฏิบัติ การเรียนรู้แบบ student-centered มีความสัมพันธ์กับทัศนะคติของพวก constructivist บ้าง ซึ่งเน้นการกระทำและความสำคัญของผู้อื่นในกระบวนการการเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม คำนิยามต่างๆ ของ student-centered learning ไม่ค่อยเน้นความสำคัญของผู้เรียนรู้ร่วม
สรุปจากบทความต่างๆ คือ student-centered learning: คอนเซพท์ที่นักเรียนมีทางเลือกในการเรียนรู้ของตน บางคนเห็นว่านักเรียนกระทำมากกว่าผู้สอน (active versus passive learning) ในขณะที่คนอื่นให้คำนิยามกว้างๆ และรวมทั้งสองคอนเซพท์นี้เข้าด้วย และยังเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงเรื่องอำนาจระหว่างนักเรียนกับครู
จะนำ student-centered learning มาใช้ได้อย่างไร
การเรียนรู้มักเสนอว่าเป็นการเลือกระหว่าง student-centered หรือ teacher-centered ในทางปฏิบัติไม่ได้เป็นขาวดำถึงขนาดนั้น การเสนอการเรียนรู้แบบ student-centered ทั้งสองวิธีเป็นสองจุดที่เป็นภาวะต่อเนื่องโดยใช้ศัพท์พวกนี้อธิบาย
ตารางที่ 1 ช่วงระหว่าง Student-centered และ Teacher-centered
Teacher-centered Learning                             Student-centered Learning
ทางเลือกของนักเรียนมีน้อย                             ทางเลือกของนักเรียนมีมาก
นักเรียนถูกกระทำ (passive)                             นักเรียนเป็นผู้กระทำ (active)
อำนาจส่วนมากอยู่กับครู                                    อำนาจส่วนมากอยู่กับนักเรียน
คุณควรพิจารณาว่าในบริบทแห่งการเรียนการสอนของคุณ คุณสามารถไปได้แค่ไหนระหว่างสองจุดที่เป็นภาวะต่อเนื่อง ต่อไปนี้เป็นการเสนอความคิดเห็นที่จะช่วยให้คุณก้าวไปสู่ student-centered learning ให้มากขึ้น
ความสำคัญต่อการออกแบบหลักสูตร
ในการออกแบบหลักสูตร student centeredness รวมถึงความคิดที่ว่า นักเรียนมีทางเลือกว่าจะเรียนรู้อะไร และจะเรียนรู้อย่างไร แต่ในมหาวิทยาลัยทุกวันนี้เราจะปฏิบัติได้แค่ไหน? การจัดหลักสูตรเป็นมอดูลจะทำสำเร็จในมหาวิทยาลัยยุโรปภายในปี 2006 ซึ่งเป็นการให้โอกาศให้นักศึกษาเลือกมอดูลได้ แต่การให้เลือกหลักสูตรของตนเองก็เต็มไปด้วยความลำบาก ซึ่งอาจมีผลลบก็ได้
Problem-Based Learning (PBL) เป็นการออกแบบหลักสูตรวิธีหนึ่งตามแนวความคิด student-centered learning ซึ่งเปิดทางให้มีการเลือกว่านักเรียนจะเรียนอะไรบ้าง และยังให้โอกาสให้นักเรียนตั้งเป้า/ผลสำฤทธิเอง ขึ้นกับว่าภูมิเดิมมีแค่ไหน Problem-Based Learning โดยการใช้ปัญหา/ประเด็น/ลั่นไก เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาเป้าหมายการเรียนรู้เอง ซึ่งจะได้อุดช่องโหว่ความรู้หรือความเข้าใจ ซึ่งการมีการเลือกเป็นสิ่งที่ student-centered learning เรียกร้องอยู่แล้ว และประเด็นที่ว่าต้องรับผิดชอบสูงก็ตรงกับความคิดLea ในตารางที่ 1 Problem-Based Learning อยู่สูงพอสมควรในภาวะต่อเนื่องของ student-centered learning มากกว่าการให้ทำแบบฝึกหัดแก้ปัญหาต่างๆ ยังมีการออกแบบหลักสูตรอย่างอื่นที่สนับสนุนให้นักเรียนมีการเลือกในการเรียนและให้ทำกิจกรรมในการเรียนรู้ เช่น systems-based approach, resource-based learning และexperiential/personal relevance approach
การเขียนหลักสูตรที่เป็นการยอมรับมากขึ้นในวงการศึกษาสากลคือ การเขียนผลสำฤทธิ/วัตถุประสงค์โดยเน้นว่านักเรียนจะทำอะไรได้ มากกว่าที่จะให้สอนให้ครบหลักสูตร การกระทำนี้เป็นการบ่ายเบนไปทาง student-centered learning ในหลักสูตรและช่วยหันความเน้นหนักไปสู่นักเรียนมากกว่าไปที่ครู Donnelly และ Fitzmaurice ได้เน้นความสำคัญเรื่องนี้ และ Gibbs ก็แสดงความสำคัญโดยรวมอยู่ในคำนิยามด้วย นั่นคือ เน้นกระบวนการและประสิทธิภาพมากกว่าเนื้อหา ตารางที่ 2 เสนอผลสำฤทธิ์ student-centered learning บางประการ
ตารางที่ 2: ผลสำฤทธิ์ในการเรียนรู้และ Student-centered Learning
Student-centered Learning Outcomes                          Traditional Learning
จบมอดูลนี้คุณ (นักเรียน) สามารถทำ:                           หลักสูตรนี้จะครอบคลุม:
เข้าใจโครงสร้างหัวใจ                                                        วิชาว่าด้วยโครงสร้างหัวใจ
วิจารณ์กลอนของ Yeats                                                     ท่องกลอนของ Yeats
ผลที่มีต่อวิธีการสอน/การเรียน
มหาวิทยาลัยกลาสโก (2004) ได้กำหนดว่ามีสี่วิธีหลักๆ ในการปฏิบัติ student-centered learning ในมหาวิทยาลัยของตน วิธีที่ 1 คือทำให้นักศึกษา active มากขึ้นในการแสวงหาความรู้และทักษะซึ่งรวมถึงแบบฝึกหัดในห้องเรียน งานภาคสนาม การใช้ซอฟท์แวร์ CAL (computer assisted learning) ฯลฯ วิธีที่ 2 คือ การทำให้นักศึกษาตระหนักมากขึ้นว่ากำลังทำอะไรและทำไปทำไม วิธีที่ 3 คือการมีปฏิกิริยาโต้ตอบกัน เช่น การติวและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มเล็กๆ วิธีสุดท้ายคือ การโฟกัสไปที่ทักษะที่ถ่ายทอดกันได้ วิธีสุดท้ายนี้ไม่ได้ถูกนิยามในคำว่า student-centered learning แต่มองเลยความต้องการของหลักสูตรไปที่ประโยชน์อื่นๆ ที่อาจได้เมื่อเขาเริ่มทำงานรับจ้างแล้ว ตารางที่ 3 แสดงตัวอย่าง student-centered learning/teaching methods และรวมถึงข้อคิดสำหรับอาจารย์ทั้งภายใน (more teacher-centered) และภายนอกวิธีการปาฐกถา
ตารางที่ 3 ตัวอย่าง student centered learning/teaching methods
ภายนอกวิธีใช้ปาฐกถา                                                       ภายในวิธีใช้ปาฐกถา
โครงการอิสระ                                                                     การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสั้นๆ สองต่อสอง
การแลกเปลี่ยนความคิดเห้นเป็นกลุ่ม                             การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสั้นๆ สองต่อสองค่อยๆ ขยายเป็นกลุ่มใหญ่ๆ
นักศึกษาให้คำปรึกษากันเอง                                            การผสมผสานนักศึกษาโดยการกำหนดตัวอักษรหรือตัวเลข
การโต้วาที                                                                             การให้นักศึกษาพูดทีละคน
การศึกษานอกสถานที่                                                        การทดสอบ
การเขี่ยนไดอารี่ สมุดบันทึก                                             นักศึกษาแสดงผลงานในห้องเรียน
Computer assisted learning                                             แสดงบทบาท
มีการเลือกวิชา/โครงการ                                                   แสดงโปสเตอร์
เขียนบทความหนังสือพิมพ์                                              นักศึกษาวาด mind maps ในห้องเรียน
การสร้างแฟ้มภาพผลงาน
ผลที่มีต่อการประเมินผล
Black ได้ชี้ให้เห็นความลำบากในการประเมินผล เช่น a) เน้นการให้คะแนนและเกรดมากเกินไป ในขณะที่การให้คำแนะนำและการเรียนรู้เน้นน้อยเกินไป b) มีการเปรียบเทียบนักเรียนระหว่างกันมากเกินไป ซึ่งเป็นการเน้นการแข่งขันแทนที่จะเน้นการปรับปรุงส่วนตัว เขาอธิบายว่าคอนเซพท์การประเมินตัวเองเป็นกิจกรรมจำเป็นที่จะช่วยให้นักเรียนรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ student centered-learning. Foucault ได้อธิบายไว้ว่าระบบการสอบไล่เป็นเทคนิคคุมอำนาจ ซึ่งนักเรียนจะถูกควบคุมโดยระบบ micro-penalties (ลงโทษที่ละเล็กน้อย) การให้คะแนนตลอดเวลาเป็นการตรวจตราอย่างหนึ่ง การสอบไล่โดยการทำข้อเขียนยังปฏิบัติกันอยู่อย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัยและเป็นการประเมินโดยสรุป นั่นคือ การประเมินเพื่อพิพากษาหรือเพื่อพิสูจน์ว่าผ่านงานหรือไม่ การประเมินแบบ formative ที่ให้ผลป้อนกลับแก่นักศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเขาจะช่วยให้เขาเรียนได้ดีขึ้น ถ้าคุณสามารถพัฒนาการประเมินแบบ formative ในหลักสูตรของคุณ จะช่วยโฟกัสให้นักศึกษารู้ว่าจุดอ่อนเขาอยู่ที่ไหน ตัวอย่างการประเมินแบบ formative คือ การให้ฟีดแบ็คเมื่อตรวจข้อเขียนบทความ คะแนนที่ให้ระหว่างปีที่ไม่ไปรวมกับคะแนนสิ้นปี และคำถามปรนัยเพื่อใช้เป็นฟีดแบ็คเท่านั้น การเพิ่มการประเมินแบบ formative จะส่งเสริมการเรียนรู้แบบ student-centered มากขึ้นเท่านั้น
ตารางที่ 4 เสนอตัวอย่างการประเมินแบบ student-centered โดย Gibbs ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.ucd.ie/teaching
ตารางที่ 4 ตัวอย่างการประเมินแบบ student-centered (Gibbs)
ไดอารี่ ล็อค และสมุดบันทึก
แฟ้มภาพผลงาน
การประเมินโดยเพื่อน/ตนเอง
ข้อตกลงการเรียนรู้และประเมินแบบเจรจา
งานโครงการ
งานกลุ่ม
โพรไฟล์
ทักษะและความสามารถ
การประเมินโดยเพื่อนร่วมห้องหรือตนเองเป็นการคืนการควบคุมให้แก่นักเรียน ซึ่งเป็นการเน้นการเพิ่มความอิสระให้แก่ผู้เรียน ข้อตกลงการเรียนรู้และประเมินแบบเจรจาเป็นเป้าหมายที่นักเรียนกำหนดขึ้นเอง ขึ้นอยู่กับว่ามีช่องโหว่ความรู้ตรงไหน ซึ่งก็ต้องทำการเจรจากับครู ข้อตกลงอาจคลุมถึงวิธีที่นักเรียนอยากถูกประเมินเพื่อพิสูจน์ว่าได้บรรลุเป้าหมายแล้ว ซึ่งก็เป็นการเพิ่มทางเลือกว่าจะเรียนเกี่ยวกับอะไร และเป็นทางเลือกว่าจะถูกประเมินอย่างไร ทางเลือกเป็นศัพท์สำคัญคำหนึ่งที่เกี่ยวกับ student-centered learningคอนเซพท์การเจรจาว่าจะเรียนอะไรก็ตรงประเด็นที่ว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงในความสำพันธ์ระหว่างครูและนักศึกษา
Gibbs ได้อธิบายว่าทางเลือกของนักเรียนในการถูกประเมินคือ จะใช้เกณฑ์และมาตรฐานใด จะมีการตัดสินอย่างไรและใครเป็นผู้ตัดสิน ในเชิงปฏิบัติ เราจะให้นักเรียนมีอิสระและส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องประเมินผลได้อย่างไร? Brown มีข้อเสนอที่จะให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินผลดังนี้:
ตารางที่ 5 กระบวนการประเมินผลและ student-centered learning
ให้นักเรียนมีส่วนร่วมเมื่อมอบหมายงานให้ทำ:
* การเลือกงานที่จะถูกประเมิน
* การมอบหมายงานที่จะประเมิน
* การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน
* การกำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน
ให้นักเรียนมีส่วนร่วมเมื่องานที่มอบหมายเสร็จแล้ว
* ให้คำติชมงานตนเอง
* ให้คำติชมงานของเพื่อนร่วมห้อง
* เสนอเกรด/คะแนนให้ตนเอง
* เจรจาเกรด/คะแนนให้ตนเอง
* ให้เกรด/คะแนนตนเอง
* ให้เกรด/คะแนนเพื่อนร่วมห้อง
ข้อเสนอในตารางที่ 5 อาจดูเหมือนใหญ่หลวงเกินไปเมื่อเทียบกับปัจจุบัน คุณอาจขยับขึ้นบนเส้นภาวะต่อเนื่องของ student-centered learning ได้ ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยแต่มีความหมายคือ ให้มีการเลือกหัวข้อบทความที่ต้องส่งและคำถามสอบไล่ได้
ประสิทธิภาพและข้อติของ student-centered learning
การสอนแบบ student-centered learning สะท้อนถึงสังคมปัจจุบันที่มีการเลือกและประชาธิปตัยเป็นคอนเซพท์สำคัญ แต่มันเป็นวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพหรือไม่? Lea ได้รวบรวมการวิชัยเรื่องนี้แล้วพบว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ มีการศึกษาระยะ 6 ปีในประเทศฟินแลนด์พบว่า เทียบกับวิธีดั้งเดิม วิธีใหม่นี้ทำให้นักเรียนพัฒนาวิธีเรียนรู้และเข้าใจได้ดีกว่า แต่เริ่มเรียนช้ากว่า Halls และ Saunders พบว่านักเรียนร่วมกิจกรรม ตั้งใจเรียน และได้คะแนนมากกว่าในหลักสูตร IT ปีแรก นอกจากนั้น 94% ของนักเรียนจะแนะนำวิธีนี้ให้แก่คนอื่นมากกว่าวิธีสอนแบบเดิม นักศึกษาในมหาวิทยาลัยอังกฤษกล่าวว่าการเรียนแบบ student-centered เป็นการให้เกียรตินักศึกษา มากกว่าแลน่าสนใจ ตื่นเต้นกว่า และทำให้มั่นใจมากขึ้น
แต่ Student-centered learning ก็มีคนวิจารณ์เหมือนกัน ซึ่งประเด็นที่ติมากที่สุดคือ การที่โฟกัสไปที่ผู้เรียนแต่ละคนมากไป นอกจากนี้ ยังมีความลำบากในการปฏิบัติอีกด้วย นั่นคือ ทรัพยากรที่ต้องใช้ ระบบความเชื่อถื่อของครูและนักเรียน และการที่นักศึกษาไม่คุ้นเคยกับศัพท์คำนี้
Simon อธิบายว่าในระบบโรงเรียน student-centered learning อาจไปโฟกัสเด็กแต่ละคนมากเกินไปและไม่สนองความต้องการของทั้งห้องเรียน Simon ชี้ให้เห็นว่า ถ้าเด็กทุกคนไม่เหมือนใครและแต่ละคนต้องการเรียนรู้แบบ เฉพาะตัว การสร้างวิธีสอนที่ใช้ได้โดยทัวไปก็จะทำไม่ได้ Edwards เน้นถึงอันตรายที่เกิดจาก student-centered learning สำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งการให้อำนาจแก่นักเรียนพวกนี้อาจทำให้เขาทำตัวห่างเหิญออกจากเพื่อนร่วมห้อง ในทัศนะคติของการเรียนรู้แบบ socio-cultural จะเน้นความสำคัญของบริบทสังคมของการเรียนรู้และคุณค่าของ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน คอนเซพท์ของการเป็นผู้เรียนรู้แบบอิสระที่สามารถเลือกเส้นทางการเรียนรู้เองได้นั้น อาจทำให้การsociability หายไปจากกระบวนการเรียนรู้ถ้าไม่เน้นความสำคัญของเพื่อนๆ
O’Sullivan ได้อธิบายว่า student-centered learning เป็นวิธีการเรียนรู้ของตะวันตก ซึ่งบางทีอาจไม่สามารถถ่ายทอดให้ประเทศด้อยพัฒนาได้ เช่น นามิเบีย ซึ่งมีทรัยากรจำกัดและวัฒนะธรรมการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน แล้วก็ยากที่จะเห็นว่า student-centered learning จะคุ้มทุนได้อย่างไรในห้องเรียนใหญ่ๆ ในมหาวิทยาลัยปัจจุบัน ได้มีการศึกษาเรื่องนี้ที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ในปี 2004 และได้พบว่า student-centered learning จะมีมากกว่าในปีท้ายๆ อาจเป็นเพราะว่าห้องเล็กลง
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความเชื่อถือที่นักเรียนมีต่อการเรียนรู้ นักเรียนที่เคยประสบแต่ teacher-centered learning อาจปฏิเสธ student-centered learning ว่าเป็นวิธีที่น่ากลัว หรือไม่อนู่ในวิสัยทัศน์ของเขา Prosser และ Trigwell จะเน้นความแตกต่างในความเชื่อถือระหว่างนักเรียนกับอาจารย์ เขาพบว่าอาจารย์ที่เคยชินกับ teacher-centered learning มีความคิดว่านักเรียนควรยอมรับข้อมูลที่ถูกป้อนแทนที่จะพัฒนาและเปลี่ยนคอนเซพท์และความเข้าใจ และตรงกันข้ามสำหรับครูที่ชินกับ student-centered learning งานของ Perryเกี่ยวกับการพัฒนาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเน้นให้เห็นว่าเขามักจะเปลี่ยนความคิดว่าความรู้มีแต่ผิดกับถูกไปสู่ความคิดว่าทุกคำตอบก็ถูกได้หมด งาน Perry นี้แสดงให้เห็นว่าแม้นักศึกษาระดับอุดมศึกษาก็สามารถเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการ เรียนรู้ได้ ดังนั้นความคิดที่มีต่อ student-centered learning ก็อาจเปลี่ยนได้เช่นเดียวกัน Stevenson และ Sanderได้รายงานว่านักศึกษาแพทย์ปี 1 ไม่ค่อยไว้ใจการเรียนรู้แบบ student-centered learning
สุดท้าย นักเรียนอาจไม่คุ้นเคยกับคำว่า student-centered learning. Lea พบว่า ในการสำรวจนักศึกษาจิตวิทยา 48 คนที่มหาวิทยาลัยพลิมมัธเกี่ยวกับ student-centered learning 60%ไม่เคยได้ยินคำนี้ทั้งๆ เป็นนโยบายของมหาวิทยาลัย
***