Categories
Featured Articles Op Ed

Getting Down to Brass TacksGetting Down to Brass Tacks

Getting Down to Brass Tacks:

Making Student -Centered Learning Work in Thailand

Starting at the Teachers Colleges

There seems to be a common consensus among educators that teachers colleges throughout Thailand need to be doing more in order to prepare future teachers to meet the challenge of fulfilling the mandates of the Education Act of 1999.  The purpose of these remarks is to spark debate on what exactly teachers college are now doing and what more they need to do to prepare pre-service Thai teachers.

My hypothesis is that a major reason for the delay in the actualization of the goals of the Education Act of 1999 is a lack of rigor in the curriculum and instruction at many of Thailand’s teachers colleges. This reason coupled with the lack of incentives to attract the best Thai students to become teachers are the main obstacles blocking Thailand’s path to excellence in public education.

I wonder how much we know about the effectiveness of our teachers colleges in Thailand.

What research has been done in Thailand on the effectiveness of teachers colleges?  What are the teaching methods used by professors at teachers colleges?  Since the Education Act of 1999 was put into effect, what demonstrable progress has been made at teachers colleges to meet the challenges of training teachers in the digital age?

Since student centered learning is at the heart of the Education Act , we also need to answer the question of what part student-centered learning plays in today’s teachers colleges curriculum.   Before we begin to talk about lapses in today’s curriculum, let me make clear two preliminary points:

1.  student- centered learning does not mean teachers exclude from their teaching methods direct teaching to the whole class.  There is an appropriate time for the teacher to explain a principal or concept or group of facts and this time is after students have wrestled with a concept ,and

2. Student- centered learning should use cognitive science research results in order to take full advantage of providing students with optimal learning environments.

Let’s look first at all the ways that teachers have at their disposal to teach a class.

How People Learn

FIGURE 1.1 With knowledge of how people learn, teachers can choose more purposefully among techniques to accomplish specific goals. From How People Learn(National Science Foundation)

As I suggested previously, direct teaching, that is “teaching by telling” does have a place in student -centered teaching.   Many educators do not understand that lectured based teaching does have an important place in student centered learning; the key is knowing when, how long an explanation is necessary and in what order “teaching by telling” is most effective.

In sum, the mastery of teaching is knowing the proper order in which to use the methods in the chart above based on the particular subject matter. Different subjects require different approaches to learning as well. For example , in teaching science the teacher is likely to choose more often from the inquiry based choices above in planning lessons.

I am most concerned that teachers colleges in Thailand may not be adequately teaching future teachers how to use cognitive science research findings in how people learn in the design of their lessons.  I will just mention three core learning principles based on solid research as illustrative, principles explained fully in How People Learn ( National Science Foundation 2000).**

Let’s take what we know about long term memory. Students have preconceived notions about a subject for study.  Effective teaching starts with students’ preconceptions and confirms them, rejects them and modifies or replaces these preconceptions.

Second, learning is enhanced when students form concepts that are personally meaningful, that is putting the organization of learning into a framework or schema.

Thirdly, learning is optimized when students are taught to use “metacognitive” strategies.  These strategies include: sense making, self assessment and reflection on what worked or needs improvement.

Applying these and other research findings to the classroom is essential so that the teacher has an understanding of the learner, including his cultural differences and preconceived ideas of the subject matter; pays attention to “what is taught, why it is taught and what mastery of the subject look like”;and makes formative assessments, on-going assessments designed to make students’ thinking “visible to both teachers and students.”  ( How Students Learn, p.24)

Of course , the first step should be to make teachers competent and expert in their chosen field.*** At the same time , the professors at the teachers colleges should be modeling teaching for understanding , that is , demonstrating constantly what a student-centered classroom looks like. One design that might be considered at teachers colleges is to spend the first two years acquiring an expert knowledge of their chosen field and the final two years learning how to apply that knowledge and understanding to teaching.  The keys to success would be producing lesson plans of excellence using research on how people learn and applying the research in effective ways in practice teaching.

These core learning principles and what needs to be done to apply them,  scratch the surface of what teachers need to know; nevertheless, it may serve to start a dialogue of what really needs to be done at teachers college to bring a high level of learning for understanding to schools across the Kingdom of Thailand.

** we strongly recommend reading How People Learn: Brain, Mind, Experience and Schools (2000) which can be downloaded free at:   http://www.nap.edu

***  To develop competence in an area of inquiry, students must: (a) have a deep foundation of factual knowledge, (b) understand facts and ideas in the context of a conceptual framework, and (c) organize knowledge in ways that facilitate retrieval and application.

 ให้การเรียนแบบมีนักเรียนเป็นศูนย์กลางได้ผลจริงในประเทศไทย

เริ่มต้นที่วิทยาลัยครู

ดูเหมือนว่าจะมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ในหมู่นักการศึกษาว่าวิทยาลัยครูจะต้องมีบทบาทมากขึ้นเพื่อการเตรียมตัวบุคลากรครูในอนาคตให้บรรลุถึงความท้าทายตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 จุดประสงค์ของมติเหล่านี้คือเพื่อจุดประกายการอภิปรายว่าสภาพที่แท้จริงของวิทยาลัยครูปัจจุบันเป็นอย่างไรและอะไรที่ต้องเพิ่มขึ้นมาเพื่อการเตรียมพร้อมในการสอนแก่ครูในอนาคตของประเทศไทย

สมมุติฐานของผู้เขียนนั้น เหตุผลหลักของความล่าช้าในการบรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาตามประราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติปี 2542 คือการขาดแคลนหลักสูตรและความพร้อมในวิทยาลัยครูหลายแห่งในประเทศไทย ควบคู่กับความขาดความสามารถในการสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษาไทยที่มีความสามารถสูงต้องการจะมาเป็นครูอันเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย

ผู้เขียนสงสัยว่าพวกเรารู้จักความสามารถและประสิทธิภาพของวิทยาลัยครูในประเทศไทยมากน้อยเท่าใด

มีงานวิจัยในประเทศไทยเกี่ยวกับประสิทธิผลของการเรียนการสอนของวิทยาลัยครูบ้างไหม? วิธีการเรียนการสอนที่คณาจารย์ในวิทยาลัยครูใช้สอนนักศึกษาเป็นอย่างไร? นับแต่พระราชบัญญัติการศึกษาปี 2542 มีผลบังคับใช้ มีความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเกิดขึ้นที่วิทยาลัยครูเพื่อสอบสนองต่อความท้าทายของการฝึกหัดครูในยุคปัจจุบัน?

เนื่องจากการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นหัวใจหลักของพระราชบัญญัตินี้ พวกเรายังต้องตอบคำถามว่าการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางถูกบรรจุไว้ในส่วนใดของหลักสูตรการเรียนการสอนของวิทยาลัยครูปัจจุบัน ก่อนที่เราจะเริ่มพูดถึงหลักสูตรการเรียนในปัจจุบัน ผู้เขียนขอทำความเข้าใจกับสองประเด็นหลักใหญ่ดังนี้

  1. การเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นศูนย์กลางไม่ใช่หมายความว่าครูไม่มีบทบาทในการเรียนการสอนโดยตรงจากครูสู่นักเรียนทั้งชั้น มีเวลาที่เหมาะสมที่ครูต้องเป็นผู้อธิบายหลักการหรือแนวคิดหรือข้อเท็จจริง ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่นักเรียนกำลังพยายามทำความเข้าใจกับบทเรียน และ
  2. การเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นศูนย์การควรใช้ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อนำมาปรับใช้ในการสอนเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

เริ่มจากการดูวิธีการเรียนรู้ที่ครูสามารถนำมาใช้เพื่อสอน

How People Learn

ภาพ 1.1 ด้วยความรู้เรื่องการเรียนรู้ของมนุษย์ ครูสามารถเลือกเทคนิคที่ตรงกับความต้องการเพื่อให้ได้ผลที่สุด

เช่นที่ผู้เขียนแนะนำไว้ก่อนหน้านี้ การสอนโดยตรง ซึ่งก็คือ “การสอนโดยการบอกเล่า” มีบทบาทในการสอนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง นักการศึกษาจำนวนมากไม่เข้าใจว่าการสอนแบบการบรรยายมีบทบาทความสำคัญในการเรียนรู้โดยนักเรียนเป็นศูนย์กลางนี้ด้วย กุญแจสำคัญอยู่ที่ การรู้ว่าเมื่อไหร่และเท่าไหร่ที่การอธิบายนั้นจำเป็นเพื่อให้การสอนโดยการบอกเล่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด

กล่าวโดยสรุป ความรอบรู้ของการสอนคือการรู้ที่ถูกต้องเพื่อที่จะใช้วิธีต่างๆตามตารางข้างบนโดยจำแนกตามพื้นฐานของแต่ละวิชา รายวิชาแตกต่างกันต้องการวิธีในการเรียนรู้ต่างไปเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การสอนวิชาวิทยาศาสตร์ควรจะเลือกวิธีสอบถามมากกว่าวิธีอื่นๆ

ผู้เขียนกังวลที่สุดคือวิทยาลัยครูในประเทศไทยอาจไม่นำการใช้ผลลัพธ์ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ของมนุษย์มาใส่ในหลักสูตรการสอนอย่างเพียงพอ ผู้เขียนจะกล่าวถึงหลักการเรียนรู้ที่สำคัญสามประการ

เริ่มพิจารณาถึงความทรงจำระยะยาว ผู้เรียนมีข้อสังเกตเกี่ยวกับหัวข้อวิชาที่เรียน การสอนจะได้ผลเริ่มจากการที่ผู้เรียนมีกรอบความคิดของตนเองในวิชาที่ศึกษาและมีความคิดสนับสนุน, คัดค้าน และปรับแก้หรือแทนที่สิ่งที่ได้เรียนรู้นั้น

ประการที่สอง การเรียนรู้จะได้ผลเมื่อผู้เรียนใช้แนวความคิดของตนเองและสร้างองค์ความรู้ขึ้นมา

ประการที่สาม การเรียนรู้มีความเหมาะสมเมื่อผู้เรียนถูกสอนให้ใช้ทฤษฎี “ความเข้าใจสำคัญ” ซึ่งประกอบด้วย การสร้างความรู้สึก, การประเมินตนเองและสะท้อนกลับไปในงานหรือสิ่งที่ต้องปรับปรุง

การประยุกต์สิ่งเหล่านี้กับผลการวิจัยอื่นเข้ามาในชั้นเรียนเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อที่ครูจะมีความเข้าใจในตัวผู้เรียน รวมถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมและแนวคิดของรายวิชา; ให้ความสำคัญกับ “สอนอะไร, ทำไมต้องสอนและความรู้จะไรที่จะได้จากวิชานี้”; และมีการประเมินระหว่างการดำเนินการหรือระหว่างการสอนเพื่อให้นักเรียนคิดว่า “จับต้องได้ทั้งผู้สอนและผู้เรียน” (How Students Learn, p.24)

แน่นอนว่าขั้นตอนแรกควรเป็นการสร้างให้ครูผู้สอนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในรายวิชาที่สอน*** และในเวลาเดียวกัน ผู้สอนในวิทยาลัยครูควรสร้างแบบจำลองการสอนเพื่อความเข้าใจ กล่าวคือ การสาธิตลักษณะห้องเรียนแบบการเรียนโดยมีนักเรียนเป็นศูนย์กลางอย่างสม่ำเสมอ สิ่งหนึ่งที่อาจได้รับการพิจารณาที่วิทยาลัยครูคือการใช้เวลาสองปีแรกหาความรู้ในรายวิชาที่เลือกและสองปีที่เหลือให้เรียนรู้วิธีที่จะประยุกต์เอาความรู้เหล่านั้นมาถ่ายทอด กุญแจของความสำเร็จคือการสร้างแผนการสอนที่ดีโดยใช้การวิจัยเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ของมนุษย์เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อให้การฝึกฝนได้ผลในทางปฏิบัติ

หลักการเรียนรู้ที่สำคัญและวิธีการประยุกต์เหล่านี้เป็นสิ่งเล็กๆที่ครูทุกคนต้องรู้ อย่างไรก็ดี มันอาจเป็นการเริ่มต้นของการพูดคุยกันว่าวิทยาลัยครูจะต้องทำอย่างไรเพื่อยกระดับการเรียนรู้เพื่อความเข้าใจไปสู้โรงเรียนทุกแห่งในประเทศไทย

**ขอแนะนำให้อ่าน How people Learn: Brain, Mind, Experience and School (2000) ซึ่งสามารถดาวน์โหลดอ่านได้ฟรีที่ http:www.nap.edu

***เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้แบบสอบถาม ผู้เรียนต้องมี (a) พื้นฐานความรู้ที่ลึกซึ้งในวิชาที่เรียน (b) เข้าใจข้อเท็จจริงและแนวคิดในเนื้อหา และ (c) จัดการองค์ความรู้ที่มีเพื่อสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *