Categories
articles Featured Articles

Sandy Hook and the ‘Abandoned Gunman’Sandy Hook กับมือปืนที่ถูกทอดทิ้ง?!

Sandy Hook and the ‘Abandoned Gunman’ … by Kru Dhon

After shooting his mother at home, Adam Lanza, 20, passed through the gate of the Sandy Hook Elementary School, in Newtown, Conn., killed 20 Grade 1 students and six teachers, including the Principal, and before taking his own life.  Who is he?

According to news reports, Adam Lanza was a top-of-the-class student in middle school.  He might have Asperger’s Syndrome, a form of autism, which affects social skills.  His school counselor recommended a psychologist.  His mother, who took care of his homeschooling, was in the process of choosing a college for him, while trying to get him serious mental care.

As a teacher, I have been focusing on understanding who Adam Lanza was.  The massacre was not the result of just his argument with Sandy Hook teachers the day before.  The process had started many years earlier. This included his physical and mental state, as well as his family situation.  Adam’s parents were divorced when he was 14, the early phase of a teenager.  He had lived with, and was homeschooled by, his mother, who was reportedly anxious about obtaining guns to protect her property in the time of economic instability.  Nothing was said about his homeschooling activities, except that he was always in his room playing computer games.  Is this good for student with special needs, especially with poor social skills?

After the massacre, President Obama came to Newtown to meet with the survivors and the families of the victims.  He vowed to “take a meaningful action” to prevent another such tragedy.  As we can see, debates for and against gun control have been following in the ensuing weeks.  Questions have also been raised about healing the survivors.  Nothing much has been said in the public forum about how the education system could help students like Adam Lanza and prevent such tragedies.

Luckily, Thailand has not experienced this kind of outrageous mass killing.  As we are entering a new phase of development with the ASEAN Community and unanticipated changes coming along with the 21st Century, are our school and education systems ready to support students?  Are schools and families aware that students with Autism, Asperger’s, learning disorders (LDs), or psychological needs (such as low-self esteem, trauma, depression, school refusal, Schizophrenia, etc.) exist, and at what percentages in the school system?  And how are they cared for?  Are these statistics even available in Thailand?

Although some forms of disorders cannot be cured, most students can be trained to live happily with other people and successfully contribute to society.  In many schools, however, these students are called “the last row students”, and teachers do not bother to do anything with them (usually after punishing them violently and making them hate school). Many students who fall into this category are expelled in order to end the trouble for the school.

My mentor, Ajarn Sasithorn Paiteekul, once told me that if we did not take care of these students and properly deal with violence in schools, expelling them will eventually victimize the society, just as in the case of Sandy Hook Elementary School (as well as Columbine High School, Virginia Tech, and others — see links http://www.infoplease.com/ipa/A0777958.html).

Sandy Hook กับมือปืนที่ถูกทอดทิ้ง?!

นักเรียนประถม 20 คนวัย 6-8 ขวบ และคุณครูอีก 6 คนจากโรงเรียนประถม Sandy Hook ต้องเสียชีวิตโดย Adam Lanza มือปืนวัย 20 ปี  หลังจากได้ยิงแม่ของเขาเองจนเสียชีวิต  เป็นข่าวที่น่าสะเทือนใจมาก  ไม่แพ้ข่าวการเสียชีวิตของคุณครูที่อยู่ทางใต้ของเรา

ข้อมูลที่รวบรวมจากแหล่งข่าวต่างๆ มีเพียงว่า  หนุ่มคนนี้มีสมองที่ปราดเปรื่อง แต่มีอาการบกพร่องทางทักษะสังคม  พูดน้อย  เก็บตัว ซึ่งอาจจะเป็น Asperger’s Syndrome  เขาอยู่กับแม่ที่เพิ่งหย่าขาดจากพ่อไปเมื่อ 6 ปีที่แล้ว … เป็นช่วงที่เขาอายุ 14 ปี  แม่ผู้คลั่งไคล้อาวุธปืนเพื่อ “ป้องกันตนเอง” เป็นเจ้าของปืนถูกกฎหมายทุกกระบอกที่เขาหอบขึ้นรถไปก่อโศกนาฎกรรม
มีการสั่งห้ามเจ้าหน้าที่รัฐทุกคนให้ข่าวอย่างเด็ดขาด  เมื่อสืบสวนจนได้ข้อมูลที่แน่ชัดแล้วจึงจะแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ   [ถ้าเป็นเมืองไทย  ป่านนี้คงได้ขุดคุ้ยจาก”แหล่งข่าว” ที่ไม่เปิดเผย (แปลว่าเชื่อถือได้?!) แล้วก็ร่ำลือกันไป]
ปืนรุ่นเดียวกับของมือปืน จาก http://carloz.newsvine.com/

หลังเกิดเหตุไม่กี่ชั่วโมง ประธานาธิบดีโอบามาเดินทางมายัง Newtown เมืองที่เกิดเหตุ   และกล่าวคำปราศรัยยกย่องความกล้าหาญของคุณครูฮีโร่ตัวจริงที่พยายามปกป้องนักเรียนของตนเองทุกวิถีทาง ในจำนวนนี้มี 6 คนเสียชีวิต [เราไม่ได้ยินเสียงอย่างนี้จากผู้นำของไทย แถมยังไม่ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของครูใต้เรื่องมาตรการเยียวยาครูที่บาดเจ็บและเสียชีวิต]

ฟังจากสุ้มเสียงของประธานาธิบดี และดูจากสภาพการณ์แล้ว  เรื่องที่จะดำเนินการต่อไปซึ่งโอบามากล่าวว่า  จะต้องเป็นมาตรการที่ “มีความหมาย”  คงไม่พ้นเรื่องของการควบคุมอาวุธปืน  ซึ่งบังเอิญว่า ปืนที่ใช้คราวนี้เป็นปืนที่ได้มาอย่างถูกกฎหมายทุกกระบอก  เชื่อได้เลยว่า ขณะนี้ นักการเมืองทั้่ง 2 ขั้วของสหรัฐฯ กำลังเตรียมห้ำหั่นเพื่อรักษาคะแนนเสียงของฝั่ง “เอาปืน” กับ “ไม่เอาปืน”

The Voice (USA) แต่งเพลงรำลึกถึงผู้ที่จากไป @ Sandy Hook

ภาพจาก www.inquisitr.com

อีกกระแสหนึ่งก็เรียกร้องให้ใส่ใจกับการดูแลสภาพจิตใจของทุกคนที่เกี่ยวข้อง และสังคมในวงกว้าง  เพราะเหตุการณ์ครั้งนี้รื้อฟื้นความทรงจำจากอดีตเกี่ยวกับการสังหารหมู่หลายครั้งที่ผ่านมา  ทั้งในโรงเรียนมัธยม  มหาวิทยาลัย หรือแม้แต่ในโรงภาพยนต์

แต่ก็ยังคงมีคำถามค้างคาใจว่า  ทำไมหนุ่มผู้ปราดเปรื่องคนนี้จึงก่อโศกนาฎกรรม  ถ้ามองแบบครู ก็ต้องบอกว่าเหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืนหลังจากที่เขามีปากเสียงกับครูที่โรงเรียนนี้   สาเหตุที่แท้จริงน่าจะก่อตัวสะสมมานานหลายปีทั้งจากปัจจัยจากการเลี้ยงดู (ในครอบครัวที่จบลงด้วยการหย่าร้างในช่วงที่เขาเป็นวัยแรง ซึ่งแน่นอนว่า ไม่ใช่จากแม่เท่านั้น) และปัจจัย “ภาวะภายใน” คือภาวะบกพร่อง เช่น Asperger’s และพัฒนาต่อมาจนมีอาการทางจิตใจอื่นๆ เพิ่มเข้าไปอีก อันเนื่องจากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ทั้งจากบ้านและโรงเรียน

นับว่า  โชคดีที่เหตุการณ์อย่างนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทย  แต่ก็อดถามต่อไม่ได้ตามวาระที่เรากำลังจะก้าวเข้าสู่โลกที่วุ่นวายตึงเครียดยิ่งขึ้นในยุคศตวรรษที่ 21 และประชาคมอาเซียนว่า   ในเมืองไทยมีเด็กที่มีภาวะต้องการความช่วยเหลือ เช่น เป็นออทิสติก  เป็น Asperger’s  มีภาวะทางจิตใจอารมณ์ (เช่น ซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำ (OCD) จิตเภท (Schizophrenia) และ ฯลฯ)  จำนวนเท่าไหร่  เด็กกลุ่มนี้ได้รับการดูแลอย่างไร  พ่อแม่ ครู และคนใกล้ชิดเห็นความผิดปกติหรือไม่  แล้วจัดการช่วยเหลือพวกเขาอย่างไร  หรือปลงแล้วว่า “เป็นกรรมเวร ช่างมัน … อยู่ห่างๆ ไว้ดีกว่า”  ทั้งที่เราต่างก็รู้อยู่แก่ใจว่า หลายๆ ภาวะแม้จะแก้ไขให้หายขาดไม่ได้  แต่ก็สามารถฝึกเขาให้มีทักษะในการควบคุมตนเองและอยู่ร่วมกับคนอื่นได้

โรงเรียนที่ไม่เข้าใจก็คิดว่า เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กประหลาด ใช้วิธีการลงโทษเฆี่ยนตี (น่าสยองขวัญมากที่รู้ว่า ในปี 2555 การตีนักเรียนจนมือปวมก้นระบมโดยไม่แก้ไขที่ต้นเหตุยังมีอยู่ทั้งในโรงเรียนรัฐและเอกชนของไทย)  ขณะที่หลายโรงเรียนใช้การ “กำจัดจุดอ่อน” ด้วยการไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ  จนกลายเป็น”เด็กหลังห้อง” ถูกพักการเรียนและที่สุดก็ถูกให้ออก เป็นการจบภาระของโรงเรียนโดยไม่ได้ทำงานกับผู้ปกครองจนถึงที่สุ

คิดถึงอ.ศศิธร ไพทีกุลผู้ล่วงลับไปแล้ว เคยบอกว่า  ถ้าเราไม่ช่วยกันจัดการความรุนแรงในโรงเรียนอย่างเหมาะสม   การโยน “ตัวปัญหา” ออกไปนอกโรงเรียนอาจจะ่ช่วยให้โรงเรียนปลอดภัยในระยะสั้นๆ   แต่ถ้าเขาไม่ได้รับการดูแลที่ดี ในที่สุดสังคมจะตกเป็นเหยื่อ … (อย่างที่ Sandy Hook นี่ไง)

และไม่ใช่เฉพาะนักเรียนเท่านั้น  พ่อแม่จำนวนไม่น้อยก็ต้องการความช่วยเหลือด้วยเช่นกัน … ครู โรงเรียน รัฐบาล หน่วยงานไหนจะขานรับเรื่องนี้กันบ้าง?!

ระลึกถึงผู้จากไป ที่ Sandy Hook Elementary School  ภาพจากwww.newswhip.com

One reply on “Sandy Hook and the ‘Abandoned Gunman’Sandy Hook กับมือปืนที่ถูกทอดทิ้ง?!

Dear Ms. Dhon,

This is a most interesting comment. What I am encouraged by is that no such incidents happen in Thailand. Am I correct? I think it is our Buddhist approach to life here in Thailand that prevents many of the psychological problems we see so often in the West.

Sincerely,
Danny

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *