Categories
Op Ed Opinion:Thai education Opinion:World Education

Moving from assessment of information to assessment of learningเปลี่ยนการวัดผลข้อมูลมาเป็นการวัดผลการเรียนรู้ เกรก คาร์นดัฟฟ์, รักษาการณ์บรรณาธิการ

Since our last op ed article, here in Thailand government schools have begun first semester of the new school year.

Just prior to start of the school year, in Bangkok one famous government school was in the news because Year 9 students and their parents were on a hunger   strike outside the school. This was because the students were not being allowed to continue into the senior years [10,11 and 12], as they had failed the entry test to these senior years of the school, and students from other schools who had successfully passed the test, had taken their places. This action made headlines in the Bangkok news. A resolution was eventually found, although I am not sure if all parties were satisfied. At about the same time, I read in an Australian education journal of  dissatisfaction expressed by academics and teachers with the national literacy and numeracy tests [Education Review, May 2012]. The critics claim that the testing regime and the expectations of government is causing teachers to teach to the test and therefore, the tests are determining what is being taught, rather than things being the other way around.

  We also hear regularly about the performance of different nations in aggregated international assessments such as the PISA [Performance Indicators of Student Achievement] or the TIMMS [Trends in International Mathematics and Science] assessments.

These two separate pieces of information from two very different education systems and some recently published data based on PISA and TIMMS results [ Grattan Institute: Catching Up, Learning From the Best Systems in East Asia, February, 2012]  set me to thinking about testing and assessment of students.

The purposes of schooling changed in the late 20th Century, and in these first decades of the 21st Century. Much has been written about this, but one theme that always comes through, is that in the Information Age, schools, school systems, and those who work in them – teachers and the policy makers must do all they can to move assessment systems from being used to “sort and select” students to a system which develops students into thinkers and life – long learners.

One transition that must occur in schools [and is occurring in the most progressive schools], is that the nature of learning has move from the students being regarded as passive receivers of information who must remember and respond to this information in tests of rote learning where the right answers must be given. The move must be to a system, which views students in a different way, to a view of students being active learners, problem solvers and thinkers, using their knowledge and being independent learners.

Such a transition changes the general principles of the way student learning is assessed.

The system of assessment should contribute to their learning. It needs to involve certain basic principles such as  the provision of different opportunities for students to demonstrate what they know and can do in relation to a particular theme or unit of work. There should have an element of peer and self assessment; there ought to be negotiation of how they will demonstrate their learning; they should know exactly what it is they are being assessed on, and there ought to be more than one opportunity for students to meet the requirements of their assessment.

Assessment with these elements will contribute to learning much more than assessment of ability to recall facts.

Ellen Cornish and Don Jordan have contributed and article on assessment to SCLT. The examples they provide respond to these elements and they also show that assessment is more than training students to remember information.

What do our readers think?

Greg Cairnduff

นับแต่บทความทางการศึกษาครั้งสุดท้าย ณ ปัจจุบันโรงเรียนต่างๆในประเทศไทยได้เริ่มต้นภาคเรียกแรกของปีการศึกษาใหม่แล้ว

ช่วงต้นของการเปิดภาคการศึกษา ในโรงเรียนรัฐบาลชื่อดังแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครกลายเป็นข่าวอยู่ในสื่อทุกแขนงเนื่องเพราะนักเรียน 9 คนและผู้ปกครองทำการอดอาหารประท้วงอยู่หน้าโรงเรียน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะเด็กเหล่านั้นไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าเรียนต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4,5 และ 6) เพราะทำคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์การสอบวัดผลของโรงเรียน นักเรียนจากโรงเรียนอื่นที่ทำข้อสอบได้จึงได้เข้าเรียนแทนที่พวกเขา ความเคลื่อนไหวนี้ก่อให้เกิดเป็นกระแสตามหน้าหนังสือพิมพ์ สุดท้ายแล้วปัญหานี้ก็ได้รับการแก้ไข แม้ผู้เขียนจะไม่มั่นใจนักว่าผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายพึงพอใจกับการแก้ปัญหานี้หรือไม่ ในเวลาเดียวกัน ผู้เขียนได้อ่านวารสารการศึกษาของออสเตรเลียเกี่ยวกับความไม่พอใจของนักวิชาการและครูในการสอบวัดและประเมินผลแห่งชาติในด้านการอ่านเขียนหนังสือและการคำนวณ [Education Review, พฤษภาคม 2555 ] นักวิจารณ์อ้างว่าระบบของการทดสอบและความคาดหวังจากรัฐบาลทำให้ครูทำการสอนเพื่อให้นักเรียนไปสอบ และดังนั้นการสอบจึงเป็นการประเมินว่านักเรียนถูกสอนอะไรมาบ้าง มากกว่าที่จะเป็นการวัดผลในมุมมองอื่นๆ

เช่นกันกับที่เรามักจะได้ยินเสมอๆเกี่ยวกับการวัดผลนานาชาติอย่าง PISA (ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน) หรือ TIMMS (การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์นานาชาติ)

ข้อมูลสองส่วน จากสองระบบการศึกษาที่ต่างกันอย่างมากนี้และผลงานเผยแพร่เมื่อเร็วๆนี้ที่มีการอ้างอิงมาจากทั้งผลประเมินของ PISA และ TIMMS (มูลนิธิกราตตัน: ตามติด เรียนรู้จากระบบการศึกษาที่ดีที่สุดของเอเชียตะวันออก, กุมภาพันธ์ 2555) ทำให้ผู้เขียนเริ่มนึกถึงการทดสอบและการวัดผลนักเรียน

วัตถุประสงค์ของการโรงเรียนถูกเปลี่ยนแปลงไปในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 และในช่วงเริ่มต้นของศตวรรษที่ 21 เช่นทุกวันนี้ มีเอกสารมากมายเขียนไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่เรื่องหนึ่งที่ทักพูดถึงอยู่เสมอคือ ในยุคสมัยแห่งข้อมูลข่าวสาร โรงเรียน, หลักสูตรการศึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งครูอาจารย์และผู้บริหารต้องทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อผลักดันให้โครงสร้างระบบการเรียนการสอนเปลี่ยนแปลงจากการ “เรียงและเลือก”ของนักเรียนอย่างที่เคยเป็น มาเป็นระบบที่พัฒนาผู้เรียนให้กลายเป็นนักคิดและผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต

หนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเกิดขึ้นในโรงเรียน (และกำลังเกิดขึ้นแล้วในโรงเรียนที่มีความก้าวหน้าสูง) คือธรรมชาติของการเรียนรู้จำเป็นต้องเปลี่ยนจากการที่นักเรียนถูกมองว่าเป็นเพียงผู้รับข้อมูลที่มีหน้าที่จดจำและตอบสนองต่อข้อมูลที่ได้รับออกมาผ่านการทดสอบแบบท่องจำเพื่อมองหาคำตอบที่ถูกใส่ไว้ในข้อสอบ ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบที่มองนักเรียนต่างไปจากเดิม มองว่านักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ที่กระตือรือร้น, เป็นนักคิดและนักแก้ปัญหาด้วยการใช้ความรู้ที่พวกเขามีอยู่ และเป็นผู้เรียนรู้ที่มีความเป็นอิสระ

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงหลักการทั่วไปของการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน

ระบบการวัดและประเมินผลควรเกี่ยวข้องกับสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ จำเป็นต้องเพิ่มเติมหลักการพื้นฐานอย่างเช่นการให้โอกาสในรูปแบบที่แตกต่างเพื่อให้นักเรียนได้แสดงออกว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรและสามารถทำอะไรได้จากความรู้หรืองานนั้นๆ มีหน่วยวัดและประเมินตนเอง ควรมีการปรึกษาว่าพวกเขาจะแสดงผลของสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ได้อย่างไร นักเรียนสมควรรู้ชัดว่าพวกเขากำลังถูกประเมินอะไรอยู่ และควรจะมีมากกว่าหนึ่งโอกาสสำหรับที่นักเรียนจะทำการประเมินให้สามารถผ่านไปได้

การประเมินที่ประกอบด้วยองค์ประกอบเหล่านี้จะส่งผลต่อการเรียนรู้มากกว่าการประเมินที่วัดผลจากความสามารถในการจดจำข้อเท็จจริง

เอลเลน คอร์นิช และ ดอน จอร์แดน ร่วมกันเขียนบทความเกี่ยวกับการประเมินและวัดผลให้กับ SCLT ตัวอย่างที่พวกเขาแสดงให้เห็นพ้องกับองค์ประกอบดังกล่าวข้างต้นและยังแสดงให้เห็นว่าการวัดและประเมินผลเป็นมากกว่าการฝึกให้นักเรียนจดจำข้อมูล

ท่านผู้อ่านมีความคิดเห็นอย่างไรครับ?

เกรก คาร์นดัฟฟ์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *