Categories
articles

Thailand’s Education System Should Provide Bilingual Educationระบบการศึกษาของประเทศไทยควรส่งเสริมการเรียนการสอนแบบทวิภาษา

by Bandhit Samtalee, M.Ed
Former Deputy Dean
Faculty of Humanities and Social Sciences,  Yala Rajabhat University

The local dialects throughout Thailand are rich and beautiful. It is meaningful and precious to people who use the dialect and share a common language bond with their neighbors and friends. Many dialects and even different languages reflect the richness of Thai diversity. These dialects and languages should be celebrated. Unfortunately, all too often the dialects are made fun of and the different languages are ignored or worse, disparaged.  In my own case, I have seen my mother tongue, Jawi, ignored in the Thai education system despite research that shows that children who are introduced to reading in their mother tongue learn to read better and are better able to make the transition to reading at a young age in the national language.

A survey by OBEC (The Office of Basic Education Commission) on the language of the students, teachers and community from 21 offices located in 9 provinces along the Thai border in 2008 found that students have been using more than 30 different dialects in 940 schools, with the number of 3,72 schools or 25.26 percent of the students in other dialects in their daily lives. In some schools the students use the same dialect where in some schools the students use 4-5 different dialects. Many of these dialects of course are completely different language such as Hmong, Yao, Musar, Jawi, Burmese and Chinese.

Although children and youth along the border and in outlying areas have the opportunity to attend school, most of these children are more familiar with their local dialects/languages. It is the mode of communication in everyday life. More often than not there problems and difficulties in learning with these children who use their own dialect or language rather than the central Thai language.

A surveys conducted by the Ministry of Education in the past have showed that groups of children with low learning achievement compared with the national standard were the children who live along the border of Thailand and did not speak Thai language in daily life. Family education was not high and the main cohort of low achieving students were from poor families. These studies indicate a weakness in the whole Thailand educational system that has existed throughout the 20th century and continue today. By not providing a bilingual approach to early learning, Thailand is losing valuable human resources that it badly needs to be competitive with other ASEAN countries.

I attended a meeting with many persons from different kinds of institution chaired by Professor Dr. Suwilai Premsrirat from the Institute of Language and Culture at Mahidol University. And I was very glad to know that Dr Suwilai was going to run a pilot project called the Bilingual Project for the Southern Border Provinces of Thailand. Therefore, a few years later there was a pilot project on the implementation of the development of language teaching schools along the border of Thailand namely Yala, Pattanee, Naratiwat and Satul, one school in each province., This pilot project brought together learning the local language and Thai language to ensure that the child has the courage to enjoy learning more and to make the transition to first learning to read in his mother tongue and then transition to learning to read central Thai.

Bilingual programs can provide a teaching process that is sensitive to the child’s cultural and linguistic context. There is an opportunity in this approach to honor the child’s mother tongue and culture. In my own context of Yala, we speak Jawi at home and are proud of our Muslim heritage. It will mean a great deal if Thai policy experts recognize the value of honoring our culture and include our language and culture in our children’s public education curriculum.  I am sure the same can be said of the many hill tribe groups located in the north of our country.

Development programs for bilingual schools along the border of Thailand using Bilingual project is a good beginning. It is a different approach from the process used with children who use Thai central language in everyday communication and at home. I believe that children are not able to develop critical thinking skills if not using language that children are familiar at first. It is vitally important to start children learning to read and solve problems first in their mother tongue.ภาษาถิ่นที่มีอยู่ทั่วประเทศไทยนั้นนับว่าเป็นสิ่งที่มีเสน่ห์และมีความสวยงามที่นอกจากจะใช้สื่อความหมายกับบุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นเดียวกันให้เข้าใจตรงกันแล้ว  ภาษาถิ่นยังมีความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นที่สะท้อนถึงความหลากหลายด้านภาษาของประเทศที่สมควรได้รับการยอมรับจากทุกคน  บ่อยครั้งที่เมื่อมีการใช้ภาษาถิ่นแล้วถูกมองว่าเป็นเรื่องตลก แม้แต่ภาษา ยาวีซึ่งเป็นภาษาแม่ของผู้เขียนยังถูกละเลยในระบบการศึกษาของประเทศไทยไปเป็นเวลานานทั้งๆที่มีการศึกษาวิจัยพบว่าการเริ่มต้นฝึกอ่านให้กับเด็กที่จะเริ่มเรียนภาษาที่สองโดยการฝึกอ่านภาษาแม่ก่อนนั้นได้ผลมากกว่าเริ่มเรียนโดยใช้ภาษาที่สองทันที
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)ได้มีการสำรวจข้อมูลการใช้ภาษาของนักเรียน  ครู  และชุมชน จาก 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  ใน 9 จังหวัดตามแนวชายแดน เมื่อปีงบประมาณ 2551  พบว่า นักเรียนใน 9 จังหวัด มีการใช้ภาษาถิ่นแตกต่างกันกว่า 30 ภาษา มีโรงเรียน 940 โรง  จากจำนวนโรงเรียนทั้งหมด 3,721 โรง หรือร้อยละ 25.26 ที่นักเรียนใช้ภาษาถิ่นอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน  เกินกว่าร้อยละ 50 ซึ่งบางโรงเรียนนักเรียนใช้ภาษาถิ่นเดียวกัน บางโรงเรียนนักเรียนใช้ภาษาถิ่นแตกต่างกัน 4-5 ภาษา และภาษาถิ่นแต่ละภาษานั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น ภาษาม้ง  ภาษาเย้า ภาษามูเซอ ภาษาพม่า ภาษาจีน และ ภาษายาวี เป็นต้น
แม้ว่าเด็กและเยาวชนตามแนวตะเข็บชายแดนและในพื้นที่ห่างไกล  ได้มีโอกาสเข้าเรียนในโรงเรียนมากขึ้น  แต่เด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยกับการใช้ภาษาถิ่นซึ่งเป็นภาษาแม่ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน  จึงมักมีปัญหาและอุปสรรคในการเรียนรู้มากกว่าเด็กในพื้นที่อื่น ๆ ที่ใช้ภาษาไทย
จากการสำรวจของกระทรวงศึกษาธิการพบว่ากลุ่มนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ ได้แก่กลุ่มนักเรียนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนและไม่ได้ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน ครอบครัวมีพื้นฐานทางการศึกษาต่ำและมีฐานะยากจน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอของระบบการศึกษาไทยที่ปรากฏให้เห็นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้  ผู้เขียนเห็นว่าการที่รัฐบาลมองไม่เห็นความสำคัญของระบบทวิภาษาของการเรียนรู้ของนักเรียน จะทำให้รัฐสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่จำเป็นในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆของสมาชิก ASEAN อย่างน่าเสียดาย

คราวหนึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าประชุมร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายถาบันการศึกษา ดำเนินการโดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ จากสถาบันภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับทราบจากที่ประชุมว่าจะมีโครงการนำร่องโรงเรียนทวิภาษาสำหรับ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และ สตูล  จังหวัดละ 1 โรงเรียน โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการใช้ภาษาถิ่นและภาษาไทยในการเรียนการสอน โดยเด็กจะเริ่มเรียนโดยการใช้ภาษาถิ่นก่อนแล้วค่อยๆเติมภาษาไทยเข้าไปทีละน้อยอันเป็นการเชื่อมโยงการเรียนรู้(Learning Transition)ในการเรียนภาษาไทยต่อไป

โปรแกรมทวิภาษา สามารถช่วยให้กระบวนการเรียนการสอนที่มีความไวต่อบริบททางวัฒนธรรมและภาษาของเด็ก  นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ภาษาแม่และวัฒนธรรมของเด็กให้ได้รับการยกย่อง ในบริบทของผู้เขียนเอง ในจังหวัดยะลาเราพูดภาษายาวีที่บ้านและมีความภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของชาวมุสลิม ของเรา ดังนั้นหาก ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายของประเทศเห็นคุณค่าและเคารพวัฒนธรรมของเรา ได้บรรจุ ภาษาและวัฒนธรรมของเราในหลักสูตรการศึกษา ผู้เขียนแน่ใจว่าจะเกิดผลดีเช่นเดียวกับโครงการที่ได้ดำเนินไปแล้วกับชนหลายกลุ่มบนพื้นที่สูงที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศของเรา

การพัฒนาโปรแกรมให้กับโรงเรียนทวิภาษาตามแนวชายแดนของประเทศไทย โดยใช้โครงการทวิภาษา นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ซึ่งเป็นวิธีที่แตกต่างจากกระบวนการที่ใช้กับเด็กที่ใช้ภาษาไทยกลางในการสื่อสาในชีวิตประจำวันและที่บ้าน ผู้เขียนเชื่อว่า เด็กจะไม่สามารถจะพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ถ้าไม่ได้ใช้ภาษาที่ เด็กมีความคุ้นเคย และเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเริ่มต้นการเรียนรู้ของเด็กในการอ่านและการแก้ปัญหาโดยใช้ภาษาแม่ของพวกเขา

One reply on “Thailand’s Education System Should Provide Bilingual Educationระบบการศึกษาของประเทศไทยควรส่งเสริมการเรียนการสอนแบบทวิภาษา

This is an important article and a long overdue recognition that respect for and attention to the culture and language of the people of the three southern most provinces of Thailand will go a long way to bringing peace and stability and economic prosperity. Thanks for writing this article. Jack

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *