Categories
Uncategorized

Successความสำเร็จ

How do we measure educational success? This is a question that we must ponder again and again, to make sure that the goals are not simply to satisfy the needs of grown-ups or determined with only certain children in mind. We must consider goals that are truly necessary for children and the future. We must keep in mind the holistic nature of all goals, so that each child is equipped according to his or her capacity and is able to lead a life of value and contentment.

In the past, our human thirst for knowledge has pushed us to study and understand so many things both concrete and abstract, to the point of creating a belief among many people that education means an accumulation of knowledge. This belief has led us to value knowledge teaching, evaluating knowledge and counting success by knowledge. However, deep down, we know that we want people to be good and kind, to live together in peace and mutual support, and to lead lives of value and contentment.

I believe most of us know what the challenges are and what we should do to improve education. But we are not putting in our best efforts. To surrender to the problem is easier, because it is a way of adapting and enabling us to achieve balance once again. A lower balance is degenerative adaptation. Most people choose this option because it is easier and justifiable in so many reasonable ways. Deep down, however, human nature has progressed so far because we have adapted in a different way – charging through obstacles. All throughout the history of human evolution, we have constantly pushed ourselves to overcome our limitations.

We are surrounded by rapid and violent changes. How should today’s education respond to these transformations? We must look beyond the shallow goals of knowledge, university entrance examinations, employment, etc. Education is a constant with so many hidden variables. It is gruelingly difficult to control the end result. Education as is may help us to remember that we must brush our teeth daily, that we must beware of falling from high places, that we can extract benefits from various things. But, as is, education has not achieved clear results in helping us realize how short life is.

All of us are involved in education, directly and indirectly. We must therefore do our best, like the gardener who tends to every tree and every aspect in the orchard, be it watering, fertilizing, pruning or getting rid of pests. The gardener’s hope is that these efforts will enhance and complete the natural capacity of the trees to bear fruit. Once everything has been done, the gardener can only watch and wait.

Lamplaimat Pattana School, an Outside the Box School, views our goal as developing learners in a holistic manner, enabling people to live together in peace, mutual support, with value and happiness. This kind of learning will enable learners to reach wisdom. There is outer wisdom, which is an understanding of the world and its phenomena, a set of knowledge and skills applicable to employment or maintenance of a quality livelihood. There is also inner wisdom, which is an understanding of oneself, an ability to perceive the emotions of oneself and others, to the point that one is able to manage those emotions. It is also recognizing the value in oneself and other people and things, to live with meaning, with awareness of the connectedness between oneself and the things around us,  with humility toward all beings which mutually support one another, with the ability to coexist with fraternity and acceptance of differences, with respect toward others, with moderation and the ability to be satisfied, with constant awareness of oneself and one’s emotions, with the ability to distinguish when to stop and when to go on, with focus and persistence to complete tasks, and with a heart full of love and kindness.

Cultivating wisdom is more intricate than cultivating knowledge. The mature teacher will toil endlessly to help students reach this goal. The teacher’s maturity will help uphold such a grand goal and overcome any obstacles.เราควรตีค่าความสำเร็จทางการศึกษาจากสิ่งใด?   เป็นคำถามที่ทุกคนต้องใคร่ครวญซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อให้แน่ชัดว่าเป้าหมายนั้นไม่ได้เป็นไปเพียงเพื่อสนองความต้องการของผู้ใหญ่เท่านั้น หรือ ไม่ได้ทำไปเพื่อเด็กคนใดคนหนึ่งอย่างโดดๆ  เราต้องมองเป้าหมายที่เป็นความจำเป็นจริงๆ ต่อเด็กและต่อโลกในอนาคตและยังต้องคำนึงถึงความเป็นองค์รวมของเป้าหมายทั้งหมดเพื่อให้แต่ละคนได้ถึงพร้อมตามศักยภาพแห่งตน  ดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีคุณค่าและปีติสุข

 

ที่ผ่านมาความกระหายใคร่รู้ของมนุษย์ทำให้เราศึกษาจนเข้าใจสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมมากขึ้น  จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในการหล่อหลอมเป็นความเชื่อใหญ่ของผู้คนให้เข้าใจว่าการศึกษาคือการสั่งสมความรู้   จึงส่งผลให้เราให้ความสำคัญกับการสอนความรู้  วัดผลจากความรู้  และตีค่าความสำเร็จโดยนับจากความรู้  ทั้งที่ทุกคนรู้ดีว่าแท้ที่จริงเราต้องการให้ผู้คนดีงาม  อยู่กันอย่างสงบ  สันติ  เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าและมีความสุข

 

เชื่อว่าเราส่วนใหญ่รู้ดีว่ากำลังเผชิญความท้าทายอะไรบ้าง  และ รู้ดีว่าการที่จะปรับปรุงการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นควรทำอย่างไร  แต่เรายังไม่ได้ทำกันอย่างเต็มกำลัง    การศิโรราบหรือการยอมจำนนนั้นง่ายกว่าซึ่งมันเป็นการปรับตัวแบบหนึ่งเพื่อให้เราได้กลับมามีสมดุลอีกครั้ง  แต่สมดุลในระดับต่ำเป็นการปรับตัวเชิงถดถอย  ที่คนส่วนใหญ่เลือกวิธีนี้เพราะมันง่ายและ

 

สามารถหาเหตุผลได้มากมายมากล่าวอ้างได้อย่างสมเหตุสมผล   ทั้งที่ธรรมชาติลึกๆ ที่ทำให้มนุษย์ก้าวหน้ามาได้ขนาดนี้เพราะเราปรับตัวอีกแบบคือการตะลุยฝ่าอุปสรรคนานามา  ตลอดช่วงวิวัฒนาการมนุษย์ล้วนแต่ผลักดันเพื่อเอาชนะขีดจำกัดศักยภาพของเราเองเสมอ

 

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรงรอบด้านนี้   การศึกษาปัจจุบันจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นได้อย่างไร  เราต้องมองไกลกว่าเป้าหมายอันตื้นเขิน  มองมากกว่าความรู้  มากกว่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ มากกว่าการมีงานทำ ฯลฯ    แต่ดูเหมือนการศึกษาซึ่งเป็น “ตัวจัดกระทำ”   จะมี  “ตัวแปรแทรกซ้อน”  มากมายซ่อนอยู่  การควบคุมผลสูงสุดจึงยากแสนเข็ญ   การศึกษาที่เป็นอยู่อาจจะช่วยให้เราตระหนักว่าจะต้องแปรงฟันทุกวัน  หรือ ระวังอย่าให้ตัวเองพลัดตกจากที่สูง. หรือ เราหาประโยชน์จากสิ่งต่างๆ  อย่างไร ได้บ้าง แต่ก็ไม่ได้สร้างผลอย่างชัดเจนที่จะให้คนตระหนักว่าชีวิตของเรานั้นสั้นแค่ไหน

 

เราทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม  จึงต้องทำให้ได้ดีที่สุดเหมือนกับชาวสวนที่เฝ้าดูแลเอาใจใส่ต้นไม้ในสวนทุกด้านอย่างพร้อมพรั่งทั้งรดน้ำ  ใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่ง หรือกำจัดศัตรูพืชให้ โดยหวังว่าปัจจัยที่ทำลงไปจะเอื้อให้ปัจจัยทางธรรมชาติของต้นไม้ออกผลของมันอย่างสมบูรณ์    ชาวสวนทำได้เพียงเฝ้ามองเฝ้ารอผลผลิตหลังจากที่ได้ทำทุกอย่างแล้ว

 

โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา หรือ โรงเรียนนอกกะลา มองเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นองค์รวมที่จะทำให้มนุษย์ได้ อยู่กันอย่างสงบ  สันติ  เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าและมีความสุข  นั่นคือการสร้างการเรียนรู้ที่จะให้ผู้เรียนไปถึง  “ปัญญา”   ซึ่งประกอบด้วย  ปัญญาภายนอกคือความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น   เป็นทั้งความรู้และทักษะมากมายที่จะใช้ในการประกอบอาชีพหรือการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ   และ  ปัญญาภายในคือความเข้าใจต่อตนเอง ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตนเอง(รู้ตัว)และผู้อื่นจนสามารถจัดการอารมณ์ตนเองได้อย่างดี   การเห็นคุณค่าในตัวเองและผู้อื่นหรือสิ่งต่างๆ  เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความหมาย   การเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างตนเองกับสิ่งต่างๆ  นอบน้อมต่อสรรพสิ่งที่เกื้อกูลกันอยู่   การอยู่ด้วยกันอย่างภราดรภาพยอมรับในความแตกต่าง  เคารพและให้เกียรติกัน  อยู่อย่างพอดีและพอใจได้ง่าย   การมีสติอยู่เสมอ  รู้เท่าทันอารมณ์เพื่อให้รู้ว่าต้องหยุด หรือ ไปต่อ กับสิ่งที่กำลังเป็นอยู่   การมีสัมมาสมาธิเพื่อกำกับความเพียรให้การเรียนรู้หรือการทำภาระงานให้ลุล่วง  และ การมีจิตใหญ่มีความรักความเมตตามหาศาล

 

การสร้าง  “ปัญญา” เป็นงานที่ประณีตมากกว่าการสร้าง “ความรู้”   ครูผู้มีวุฒิภาวะจะมองเห็นเป้าหมายนี้และเพียรพยายามส่งเด็กไปให้ถึง “ปัญญา”  ความมีวุฒิภาวะของครูยังจะช่วยให้สามารถโอบอุ้มเป้าหมายใหญ่ๆ นี้ได้โดยที่ไม่ติดยู่กับเงื่อนไขใดๆ หมายถึงการก้าวข้ามสิ่งขวางกั้นเพื่อมุ่งตรงไปสู่เป้าหมายนั้นเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *